ปืนใหญ่ต้องสงสัย ? ตอนที่๒

ืืนใหญ่ต้องสงสัย ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๕ เป็นวันที่มีการจัดตั้ง กองโยธาสัตหีบขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๗ได้เปลี่ยนชื่อเป็นฐานทัพเรือสัตหีบ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม

เรือหาญหักศัตรู (ลำที่สอง)

  • ตามข้อมูลจากหนังสือเรือรบราชนาวี ระบุไว้ว่า เป็นเรือรบชนิดกันโบตแบบเรือป้อม (ตัวเรือไม้ ) ระวางขับน้ำเต็มที่ ๑๒๐ ตัน อาวุธปืนใหญ่ ๒ กระบอก เครื่องจักรกำลัง ๑๔๐ แรงม้า ปลดระวางประจำการในปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ โดยหลังจากปลดระวางประจำการแล้ว ได้ขายให้บริษัทนำร่องในราคา ๘,๕๐๐.- บาท เพื่อใช้เป็นเรือพักนำร่อง (PILOT SCHOONER)
  • สำหรับเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ใน “ประวัติโรงเรียนนายเรือ” ที่ลงพิมพ์ใน หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต. พระยาหาญกลางสมุทร ร.น. ได้กล่าวยกย่องวีรกรรมเอาไว้ว่า “มีแต่เรือหาญหักศัตรู ลำเดียวที่กัปตันเรือ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้แสดงความกล้าหาญ เข้ากำกับการยิงปืนต่อสู้ โดยยิงถูกเรือ “เย.บี.เซย์” ที่แล่นนำเรือปืน ๒ ลำที่ผ่านสันดอนเข้ามา จนการนี้ถูกปรับเป็นเงิน หลักล้านบาท”
  • ส่วนประวัติของเรือในด้านอื่นที่สำคัญ ในประวัติโรงเรียนนายเรือ ก็กล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “เรือหาญหักศัตรูลำนี้เป็นเรือรบลำแรกที่เข้าอู่หลวงทหารเรือ ซึ่งเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๙ มกราคมร.ศ.๑๐๙ เวลาประมาณบ่าย ๔ โมงครึ่งเศษ ต่อมาได้ตัดเอาหัวเรือไปไว้ริมเขื่อนของกองแพทย์ทหารเรือ (ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีวัดระฆังปัจจุบันนี้) และตัวเรือลำนี้ภายหลังบริษัทนำร่องได้ขอซื้อไปด้วยราคา ๘,๕๐๐.- บาท เมื่อวันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) โดยเอาไปทอดเป็นเรือนำร่องที่นอกสันดอน และเป็นที่พักของผู้นำร่องด้วย”

ภาพเหตุการณ์ เมื่อมองจากฝ่ายสยามจะเห็นว่า ฝ่ายฝรั่งเศสแล่นเรียงตามกัน โดยมีเรือ เย.บี.เซย์ เรือสลุปแองคองสตังค์ และ เรือปืนโคแมต ส่วนฝ่ายสยาม เรียงจากซ้ายไปขวา คาดว่าน่าจะเป็น เรือหาญหักศัตรู เรือยิงทุ่นระเบิด เรือปืนมูรธาวสิตสวัสดิ์ และเรือปืนมกุฎราชกุมาร ตามลำดับ

๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖

  • การรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา มีสาเหตุตั้งต้นมาจากความใคร่กระหายในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ที่พยายามจะแย่งชิงดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปจากสยาม โดยการอ้างแบบข้าง ๆ คู ๆ ว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนั้นเป็นของลาว และลาวก็เคยเป็นของญวน และบัดนี้ญวนเป็นของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสได้ญวนแล้ว ก็ควรได้ลาว และได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปด้วย การกล่าวอ้างแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้ฝรั่งเศสถูกล้อเลียนว่าเป็น “ หมาป่า ” ในนิทานอีสป ที่ไม่เคยฟังเหตุผลอะไรเลยทั้งสิ้น
  • การคุกคามจากชาติตะวันตกมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากฝรั่งเศสเอง หรือแม้กระทั่งจากอังกฤษ ด้วยความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ทำให้อังกฤษตัดสินใจจะส่งเรือรบมาอีก ๒ ลำโดยอ้างความปลอดภัยของชาวอังกฤษในสยาม เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสอ้างบ้างว่าต้องการส่งเรือรบมาเพิ่มอีก ๒ ลำเช่นกัน และถึงแม้ภายหลังจะมีการทำสัญญาตกลงกันเรียบร้อย ว่าจะไม่มีการนำเรือผ่านสันดอนเข้ามา แต่ฝรั่งเศสกลับฝ่าผืนคำสัญญา ไม่สนใจคำเตือนใด ๆ ด้วยหมายจะฉลองวันชาติฝรั่งเศส (๑๔ ก.ค.) ด้วยการชักธงราวแต่งเรือ อวดธงชาติสามสีเหนือน่านน้ำสยาม

  • กลยุทธ์อันชาญฉลาดของฝรั่งเศส ที่เลือกช่วงเวลาน้ำขึ้น(๑๘๐๐) ทำให้ฝรั่งเศสแล่นเรือตามน้ำเข้ามาได้ด้วยความเร็วเต็มที่ มีเมฆฝน ประกอบกับเป็นเวลาพลบค่ำ ทำให้ปืนเสือหมอบเล็งยิงได้อย่างยากลำบาก ตอร์ปิโด (ทุ่นระเบิด) ก็ระเบิดก่อนเวลา เรือของเราก็มีแต่เรือแบบเก่า ปืนใหญ่ประจำเรือต้องบรรจุทางปากกระบอก ทำให้ยิงได้ช้า ไม่ทันการ เรือรบฝรั่งเศสจึงสามารถฝ่าเข้าไปทอดสมออยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้สำเร็จ โดยเสียกำลังพลไปเพียง ๓ นายบาดเจ็บ ๓ นาย และเรือสินค้าเกยตื้น ๑ ลำ

  • ส่วนปืนใหญ่ที่เป็นพระเอกของเราในบทความนี้ ตามบันทึกของกรมทหารเรือ กล่าวไว้ว่า “ร.ล.หาญหักศัตรู สามารถทำการยิงปืนขนาดใหญ่ได้เพียง ๒ นัดเท่านั้น นัดหนึ่งเข้าใจว่าได้ถูกเรือกลไฟ เย.บี.เซย์ ที่ตอนหัวเรือ ”

Comments